Quantcast
Channel: Department of Geology, Chulalongkorn University
Viewing all 109 articles
Browse latest View live

นิสิตชั้นปีที่ 2 ฝึกการสำรวจธรณีวิทยาภาคสนามในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี

$
0
0

[ข่าว] วันที่ 16-20 ม.ค. 2560 นิสิตธรณีวิทยาชั้นปีที่ 2 จำนวน 35 คน ออกฝึกสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยาในพื้นที่ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

การสำรวจครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 2307217 Field Methods in Geology II ปีการศึกษา 2559

The post นิสิตชั้นปีที่ 2 ฝึกการสำรวจธรณีวิทยาภาคสนามในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.


รร.อัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพฯ เยี่ยมชมภาควิชาธรณีวิทยา

$
0
0

วันที่ 21 มี.ค. 60 คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมชมภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยนักเรียนชั้นม.2 จำนวน 38 คน ได้เข้าชมการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชา Geomorpholoy และวิชา Seismic interpretation จากนั้นเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาพร้อมกับชมวิดิทัศน์เกี่ยวกับสึนามิเมื่อปี 2547

The post รร.อัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพฯ เยี่ยมชมภาควิชาธรณีวิทยา appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

ภาควิชาธรณีวิทยารับมอบ Chula Smart Lens

$
0
0

ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ มอบชุดอุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟน จำนวน 50 ชุด แก่ภาควิชาธรณีวิทยา โดยหัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา รศ.ดร.พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์ เป็นผู้รับมอบอุปกรณ์

ชุดอุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนนี้พัฒนาโดยคณะนักวิจัยของหน่วยปฏิบัติการวิจัยอุปกรณ์รับรู้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับใช้ร่วมกับกล้องของสมาร์ทโฟนหรือแทปเล็ตสามารถเปลี่ยนศักยภาพการถ่ายรูปของสมาร์ทโฟนให้เป็นกล้องจุลทรรศน์ดิจิตัลแบบพกพากำลังขยายปานกลาง (20–50 เท่า) หากมีการขยายเพิ่มเติมด้วย digital zoom ของสมาร์ทโฟนก็จะทาให้ได้กำลังขยายสูงถึง 400 เท่า ขึ้นอยู่กับรุ่นและประสิทธิภาพของสมาร์ทโฟน

ในทางธรณีวิทยาศักยภาพของกำลังขยายปานกลางนี้ตอบสนองกิจกรรมและภาระกิจที่หลากหลายที่ใช้ประโยชน์ของภาพถ่ายระดับไมโครสโคปในการแก้ปัญหา เช่น การศึกษาหิน แร่ ตะกอน และฟอสซิล ในภาคสนามและเก็บบันทึกภาพได้จากการสำรวจโดยทันที ทั้งนี้สามารถนำไปศีกษาต่อยอดในห้องปฎิบัติการต่อไป

โดยการพัฒนาชุดอุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนสาหรับธรณีวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของทุนวิจัยมุ่งเป้า คณะวิทยาศาสตร์ (SciSuperIII) ในโครงการ Innovation and Standard Enhancement of Smartphone Microscope Kit ของทีมศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ โดย อ.ดร.สกลวรรณ ชาวไชย เป็นหัวหน้าโครงการย่อย

ในส่วนของภาควิชาธรณีวิทยา และ อ.ดร.ปิยพงษ์ เชนร้าย เป็นอาจารย์ผู้ดูแลการนำอุปกรณ์ไปใช้งานจริงในพัฒนาการเรียน การสอน และการออกภาคสนามประจำปี 2560 นี้

The post ภาควิชาธรณีวิทยารับมอบ Chula Smart Lens appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

[ประกาศรับสมัคร] เจ้าหน้าที่สำนักงาน 1 ตำแหน่ง

$
0
0

หลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ สาขาธรณีศาสตร์ปิโตรเลียม ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับสมัคร เจ้าหน้าที่สำนักงาน 1 ตำแหน่ง หมดเขตรับสมัคร 8 กันยายน 2560


Position

  • Senior administrative assistant

Qualifications

  • Thai Nationality
  • Bachelor / Master Degree in Administration / Management / or a related field
  • Fluency in English with a TOEIC test score of 600 or better
  • Fluency in Microsoft office and Internet
  • 5 years of related working experience
  • Able to communicate and coordinate operations
  • Able to work independently to complete assigned tasks
  • Experiences in purchasing supplies and equipment
  • Experiences in immigration services e.g. visa, wok permit and etc.

Job description

  • Administration and operation of the Program using English as the main communication medium.
  • Coordination between departments within the University.
  • Coordination of private enterprises supporting the program, including Chevron Thailand Exploration and Production Co. and PTT Exploration and Production Public Company Limited
  • Completing all required paperwork
  • Procuring equipment / supplies as required
  • Preparing an annual budget and overseeing the Program’s accounts, including preparing a yearly report
  • Preparing documents related to visa, work permit and tax refund for expat lecturers
  • Coordinating with all organizations involved with the program
  • Communicating and providing facilities for guest lecturers
  • Supporting any other requirements of the Program staff members and students

Application procedure

Please submit a letter of interest plus a Curriculum Vitae and the names, contact addresses and e-mail addresses of 2 referees to Kallayanee Hutachitta, Petroleum Geoscience Program, Chulalongkorn University, by e-mail at: kall.p0930@gmail.com.

The application period is on August 21 – September 8, 2017.

An interview will be held on September 11 – 15, 2017.


Please visit cupetrogeoscience.com for more information about the Chulalongkorn University Petroleum Geoscience Program.

The post [ประกาศรับสมัคร] เจ้าหน้าที่สำนักงาน 1 ตำแหน่ง appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

คณาจารย์และนิสิตร่วมงานประชุม TNI2016 เชียงใหม่

$
0
0

วันที่ 14-15 พ.ย 2559 คณาจารย์และนิสิต ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการในงาน The 3rd International Conference on Tectonics of Northwestern Indochina (TNI2016) จัดโดยภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

The post คณาจารย์และนิสิตร่วมงานประชุม TNI2016 เชียงใหม่ appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

บทบาทของนักธรณีวิทยาในงานด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค วิศวกรรมเหมืองแร่ และปิโตรเลียม

$
0
0

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 1/2561 หัวข้อ “บทบาทของนักธรณีวิทยาในงานด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค วิศวกรรมเหมืองแร่ และปิโตรเลียม” นำเสนอโดย ผศ.ดร.สุนทร พุ่มจันทร์ ภาควิชาวิศกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 12 มกราคม 2561 เวลา 13.00 – 14.00 น. ณ ห้อง 333 อาคารธรณีวิทยา

ปัจจุบันความรู้ทางด้านธรณีวิทยาได้เข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในงานด้านวิศวกรรมธรณี ทั้งวิศวกรรมธรณีเทคนิค วิศวกรรมเหมืองแร่ และวิศวกรรมปิโตรเลียม ดังนั้นความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางด้านธรณีวิทยาที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการนำไปใช้ในด้านวิศวกรรมธรณี รวมถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของนักธรณีวิทยาในสายงานด้านนี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน

การสัมนาครั้งนี้ ได้นำเสนอถึงบทบาทของนักธรณีวิทยาในสายงานด้านวิศวกรรมธรณี ว่านักธรณีมีหน้าที่อะไรบ้าง ตำแหน่งและลักษณะงานเป็นอย่างไร สามารถนำความรู้ทางด้านธรณีไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรในสายงานด้านวิศวกรรมต่าง ๆ อีกทั้งการสัมมนาในครั้งนี้ยังได้นำเสนอแนวทางในการศึกษาต่อทางด้านวิศกรรมธรณีในด้านต่าง ๆ รวมถึงประสบการณ์ทางด้านการศึกษาและการทำงานของวิทยากรอีกด้วย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาที่สนใจสายงานหรือการศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมธรณี


ผศ.ดร.สุนทร พุ่มจันทร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปริญญาโทและปริญญาเอก จาก Mining Engineering – Michigan Technological University ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

The post บทบาทของนักธรณีวิทยาในงานด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค วิศวกรรมเหมืองแร่ และปิโตรเลียม appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

ถ่านหินกับการผลิตกระแสไฟฟ้า

$
0
0

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 2/2561 หัวข้อ “ถ่านหินกับการผลิตกระแสไฟฟ้า” นำเสนอโดย คุณวิศรุต เตชะสุวรรณวงศ์ นักธรณีวิทยาประจำเหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วันที่ 19 มกราคม 2561 เวลา 13.00 – 14.00 น. ณ ห้อง 333 อาคารธรณีวิทยา

ในปัจจุบันแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในประเทศไทย มีอยู่ในหลากหลายรูปแบบทั้งถ่านหิน ปิโตรเลียม รวมไปถึงก๊าซธรรมชาติ การที่จะค้นหาแหล่งทรัพยากรเหล่านี้และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานในด้านธรณีวิทยา โดยในประเทศไทยนั้นแหล่งทรัพยากรถ่านหินมีความสำคัญมากต่อการนำมาใช้ผลิตกระไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การสัมมนาครั้งนี้ได้นำเสนอถึงแหล่งทรัพยากรถ่านหินที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านธรณีวิทยาในการสำรวจ หน้าที่ของนักธรณีวิทยาในเหมืองถ่านหิน โดยจะได้รับความรู้ ประสบการณ์จากนักธรณีวิทยาโดยตรง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจในการทำงานด้านนี้

นายวิศรุต เตชะสุวรรณวงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นักธรณีวิทยา ระดับ 4 แผนก ธรณีวิทยาบ่อเหมือง กองธรณีวิทยา เหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก่อนหน้านี้เคยทำงานเป็นนักอุตุนิยมวิทยาปฏิบัติการ ของกรมอุตุนิยมวิทยา และนักธรณีวิทยา ของบริษัท เอสเอ็นทีคอนซัลแตนท์ จำกัด

The post ถ่านหินกับการผลิตกระแสไฟฟ้า appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

ประสบการณ์นักธรณีกับธุรกิจอัญมณี

$
0
0

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 3/2561 หัวข้อ “ประสบการณ์นักธรณีกับธุรกิจอัญมณี” นำเสนอโดย คุณอันนา ดุสิตาภิรมย์ นักธุรกิจด้านอัญมณีและเครื่องประดับ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.00 – 14.00 น. ณ ห้อง 333 อาคารธรณีวิทยา

องค์ความรู้ทางธรณีวิทยาที่ได้จากการสั่งสมขณะศึกษาภายในรั้วมหาวิทยาลัยนั้น นอกจากสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพทางธรณีวิทยาโดยตรงในหลากหลายอาชีพแล้ว องค์ความรู้เหล่านี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอาชีพอื่น ๆ ได้เช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ อาชีพนักธุรกิจด้านอัญมณีและเครื่องประดับ โดยจะต้องใช้พื้นฐานความรู้ทางธรณีวิทยาในเรื่องของแร่ อาทิ ลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางเคมี เป็นต้น ซึ่งในชีวิตของการทำงานทางด้านนี้ ก็จะต้องพบเจอกับคู่แข่งมากมายในตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับเช่นกัน แต่การประกอบอาชีพนักธุรกิจส่วนตัวทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับบนพื้นฐานของความเป็นนักธรณีวิทยานั้น จะมีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ เมื่อเทียบกับนักธุรกิจทั่วไปหรือไม่ และความรู้พื้นฐานด้านธรณีวิทยาจะสามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดเพื่อนำไปสู่ความสาเร็จในการประกอบอาชีพทางด้านนี้ได้อย่างไร

การสัมนาในครั้งนี้ จึงเป็นการเปิดมุมมองการทำงานของนักธรณีวิทยาที่นำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้กับอาชีพนักธุรกิจด้านอัญมณีและเครื่องประดับ บรรยายถึงประสบการณ์การทำงานและบทบาทของนักธรณีวิทยาภายใต้ความเป็นนักธุรกิจ รวมถึงพูดคุยถึงความมั่นคงในอาชีพและความก้าวหน้าของธุรกิจการค้าอัญมณีในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาที่สนใจสายงานหรือการศึกษาต่อทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ

อันนา ดุสิตาภิรมย์ จบการศึกษาปริญญาตรี ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2549 และจบการศึกษาจากสถาบันอัญมณีและเครื่องประดับ GJI ปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัวทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ

The post ประสบการณ์นักธรณีกับธุรกิจอัญมณี appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.


อุตุนิยมวิทยาในธรณีวิทยา

$
0
0

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 4/2561 หัวข้อ “อุตุนิยมวิทยาในธรณีวิทยา” นำเสนอโดย ว่าที่ร้อยโท คทาวุฒิ มาลัยโรจน์ศิริ อดีตผู้อำนวยการส่วนวิจัยและพัฒนาแผ่นดินไหวและสึนามิ กรมอุตุนิยมวิทยา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.00 – 14.00 น. ณ ห้อง 333 อาคารธรณีวิทยา

เนื่องด้วยศาสตร์ของธรณีวิทยา ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องราวของดินหินและแร่ แต่ยังรวมไปถึงพิบัติภัยทางธรรมชาติ เช่น สึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีความน่าสนใจ และมีการศึกษาวิจัยกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุมาตราจนก่อให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่ที่ฆ่าชีวิตของผู้คนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นการขยายความรู้และความเข้าใจของเหล่านักธรณี ให้มีความเข้าใจในศาสตร์เหล่านี้อย่างชัดเจนจึงเป็นอีกสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่จะคอยช่วยเหลือให้เราประสบความสำเร็จในสายงานนี้ ซึ่งในที่นี้ไม่ใช่ว่าจะมีเพียงแค่เรื่องของภัยพิบัติภัยทางธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงศาสตร์ของอุตุนิยมวิทยาที่มีความเกี่ยวข้องกับนักธรณีอีกด้วย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของพวกเราชาวธรณี

ว่าที่ร้อยโท คทาวุฒิ มาลัยโรจน์ศิริ สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ ได้รับประกาศนียบัตรอุตุนิยมวิทยาจากประเทศญี่ปุ่นและประกาศนียบัตรอุตุนิยมวิทยาชั้นสูงจากประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังได้รับการฝึกอบรมทางด้านการสำรวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จากสถาบัน AIT มีโอกาสเข้าร่วมประชุมและสัมมนาทางด้านอุตุนิยมวิทยาในหลายประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง การตรวจอากาศ การพยากรณ์อากาศ ภูมิอากาศ แผ่นดินไหว สึนามิ และการเกิดภัยธรรมชาติให้แก่หน่วยงานราชการหลายแห่ง รวมทั้งเป็นอาจารย์สอนวิชาอากาศวิทยา ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเวลา 10 ปี และสอนวิชาต่างๆให้แก่ข้าราชการของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยมีตำแหน่งสุดท้ายในราชการคือ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยและพัฒนาแผ่นดินไหวและสึนามิ กรมอุตุนิยมวิทยา

The post อุตุนิยมวิทยาในธรณีวิทยา appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

ธุรกิจเหมืองเพอร์ไลต์ และงานทางด้านธรณีวิทยาที่เกี่ยวกับเหมืองแร่

$
0
0

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 5/2561 หัวข้อ “ธุรกิจเหมืองเพอร์ไลต์ และงานทางด้านธรณีวิทยาที่เกี่ยวกับเหมืองแร่” นำเสนอโดย คุณวัลลภ ยิ้มใย ผู้จัดการบริษัท ทรัพย์สมบูรณ์ เพอร์ไลต์ จำกัด วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.00 – 14.00 น. ณ ห้อง 333 อาคารธรณีวิทยา

ในปัจจุบันหินเพอร์ไลต์เป็นหนึ่งในวัสดุที่มีการนิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงทำให้ยังมีความต้องการอยู่มากในประเทศไทย ดังนั้นบทบาทของเหมืองเพอร์ไลต์ในไทยจึงมีความสำคัญมาก และในการค้นหาแหล่งเพอร์ไลต์นั้นจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านธรณีวิทยาในการทำงานด้านอุตสาหกรรมอย่างมีประสบการณ์ ความรู้ทางธรณีวิทยาที่ดีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการนำไปใช้ รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของนักธรณีวิทยาก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน การสัมมนาครั้งนี้ได้นำเสนอถึงบทบาทของนักธรณีวิทยาในสายงานด้านอุตสาหกรรมเหมืองเพอร์ไลต์ ว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง ตำแหน่งและลักษณะงานเป็นอย่างไร สามารถนำความรู้ทางด้านธรณีไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร รวมถึงประสบการณ์ทางด้านการศึกษาและการทำงานของวิทยากร ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาที่สนใจในสายงานเหมืองแร่และอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้การประยุกต์ความรู้ทางธรณีวิทยาอีกด้วย

คุณวัลลภ ยิ้มใย ปัจจุบันดำรงตาแหน่งผู้จัดการบริษัท ทรัพย์สมบูรณ์ เพอร์ไลต์ จำกัด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนักธรณีวิทยาบริษัท Siam Antiony จากัด (2531-2532) ทำการสารวจทางธรณีเคมีของตะกอนธารน้ำ หลุมเจาะ อดีตผู้จัดการผ่ายผลิตหินประดับประเภท หินอ่อนและหินแกรนิต บริษัทเหมืองไทย จำกัด (2533) อดีตรองผู้จัดการบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) (2533-2542) ทำการจัดการและสำรวจธรณีวิทยาแร่ในอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มแร่คาร์บอเนตในประเทศไทยและประเทศจีน แร่ดิน แร่เฟลด์สปาร์ ดินขาว ในประเทศไทย แร่กลุ่มตะกั่ว-สังกะสี ในประเทศลาว รวมถึงการผลิตหินประดับ และการสำรวจถ่านหิน อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท CNV 1999 จากัด (2542-2545) ผลิตดินสำหรับธุรกิจทาปุ๋ย และทรายซิลิกาต่ำสำหรับโรงไฟฟ้า ผู้จัดการบริษัทเทอร์รา เอ็นเทอไพรส์ จำกัด (2545-ปัจจจุบัน) ผลิตยางและแป้งสาหรับการใช้ในการกีฬา ผู้จัดการโครงการบริษัท Smath Drill จำกัด (2556-ปัจจุบัน) งานด้านเจาะสำรวจในประเทศไทย ลาว และพม่า

The post ธุรกิจเหมืองเพอร์ไลต์ และงานทางด้านธรณีวิทยาที่เกี่ยวกับเหมืองแร่ appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

5 ปีหลังเรียนจบ…กับการทำงานในธุรกิจปิโตรเลียม

$
0
0

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 6/2561 หัวข้อ “5 ปีหลังเรียนจบ…กับการทำงานในธุรกิจปิโตรเลียม” นำเสนอโดย คุณมนวรรธน์ กมลศิลป์ คุณชมพูนุท จุมพลชาติ และคุณรณกฤษฏิ์ รัตนศรีอำไพพงศ์ วันที่ 2 มีนาคม 2561 เวลา 13.00 – 14.00 น. ณ ห้อง 333 อาคารธรณีวิทยา

ในการสัมมนาครั้งนี้ วิทยากรทั้ง 3 ท่านจะมาบอกเล่าเรื่องราวชีวิตตั้งแต่แรงบันดาลใจและเหตุผลที่เลือกเรียนธรณีวิทยา รวมไปถึงชีวิตหลังเรียนจบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ต้องเจอในชีวิตการทำงานในสายงานปิโตรเลียม นอกจากนี้ ยังจะเล่าถึงการวางแผนอนาคตของแต่ละคนในอีก 5 ปีข้างหน้าอีกด้วย

ปัจจุบัน คุณมนวรรธน์ กมลศิลป์ ทำงานเป็นนักธรณีฟิสิกส์ในบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งในอดีตเคยมีความใฝ่ฝันอยากเป็นครู คุณรณกฤษฎิ์ รัตนศรีอำไพพงศ์ ทำงานเป็นนักธรณีวิทยาในบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และกำลังจะทำตามฝันโดยการรับทุน การชิงทุน Fulbright Thai Graduate Scholarship ไปเรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นนักวิ่งระยะไกล และอยากจะเป็นนักเขียนด้วย คุณชมพูนุท จุมพลชาติ นักวางแผนหลุมเจาะปิโตรเลียม และครูอาสาสมัคร นอกจากนี้เคยออกมาทำธุรกิจขายของออนไลน์อยู่ระยะหนึ่ง

The post 5 ปีหลังเรียนจบ…กับการทำงานในธุรกิจปิโตรเลียม appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

จากนักธรณีวิทยาสู่การเป็นวิศวกรปิโตรเลียม

$
0
0

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 7/2561 หัวข้อ “ จากนักธรณีวิทยาสู่การเป็นวิศวกรปิโตรเลียม” นำเสนอโดย ดร.ฟ้าลั่น ศรีสุริยชัย และ คุณกรันฑการย์ เมฆหมอก วันที่ 9 มีนาคม 2561 เวลา 13.00 – 14.00 น. ณ ห้อง 333 อาคารธรณีวิทยา

ปิโตรเลียมยังถือเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศในปัจจุบัน การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิศวกรรมปิโตรเลียมจึงถือเป็นพันธกิจหลักของสาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่เพียงแค่การผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่มีความรู้ความสามารถในด้านการพัฒนางานวิจัยที่สูงขึ้นยังเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

ศาสตร์ทางด้านธรณีวิทยาเป็นอีกหนึ่งในพื้นฐานความรู้ที่สำคัญที่สามารถพัฒนาไปเป็นความรู้ทางด้านวิศวกรรมปิโตรเลียมได้ เนื่องจากการเกิดของปิโตรเลียมมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความรู้ทางธรณีวิทยา ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าในช่วงปีที่ผ่านมา มีนิสิตที่จบมาในสาขาธรณีวิทยาในระดับปริญญาตรีศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียมเพื่อนาไปสู่การเป็นวิศวกรปิโตรเลียมที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ


ดร.ฟ้าลั่น ศรีสุริยชัย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทสาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณีและปิโตรเลียม มหาวิทยาลัยแห่งเมืองโบโลญย่า ประเทศอิตาลี ปัจจุบัน อ.ดร.ฟ้าลั่น ศรีสุริยชัย ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจาสาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในด้านงานบริหาร อ.ดร.ฟ้าลั่น ศรีสุริยชัย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยคณบดีด้านงานวิรัชกิจเพื่อดูแลความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ในด้านการบริการวิชาการ อ.ดร.ฟ้าลั่น ศรีสุริยชัย ยังคงดำรงตำแหน่งผู้ชานาญการด้านวิศวกรรมปิโตรเลียม คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านการพัฒนาปิโตรเลียม สำนักแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรันฑการย์ เมฆหมอก จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554 และระดับปริญญาโทสาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานขายเชิงเทคนิค บริษัท อุซมา คอนซัลติ้ง จำกัด

The post จากนักธรณีวิทยาสู่การเป็นวิศวกรปิโตรเลียม appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

การปฏิบัติตนในการทำงานด้านธรณีวิทยา

$
0
0

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 8/2561 หัวข้อ “ การปฏิบัติตนในการทำงานด้านธรณีวิทยา” นำเสนอโดย คุณนเรศ สัตยารักษ์  วันที่ 16 มีนาคม 2561 เวลา 13.00 – 14.00 น. ณ ห้อง 333 อาคารธรณีวิทยา

นักธรณีวิทยา คือ ผู้ที่ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์หลายแขนง เพื่อแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ ประเมินธรณีพิบัติภัย และถ่ายทอดเป็นความรู้ให้กับผู้อื่น การเป็นนักธรณีวิทยาควรต้องทราบการปฏิบัติตนในการทำงานเพื่อให้งานมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีและเพื่อให้องค์กรมีศักยภาพที่ดียิ่งขึ้น การทำงานทั้งในสำนักงานหรือในภาคสนามนั้น ควรต้องตระเตรียมวางแผน และดำเนินการโดยอาศัยคุณสมบัติสำคัญที่นักธรณีวิทยาควรมีประจำตัว อันได้แก่ รักธรรมชาติ ชอบการผจญภัย อยากรู้อยากเห็น เป็นนักตั้งคำถามและหาคำตอบ มีความสามารถในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ให้เป็น 4 มิติ เป็นนักเล่าและนักอ่านที่ดี รักวิชาชีพธรณีวิทยา และซื่อสัตย์ในผลงานของตนเอง

การสัมมนาในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมจะได้รับฟังคำแนะนำและข้อคิดจากนักธรณีวิทยาผู้มากด้วยประสบการณ์และประสบความสำเร็จบนเส้นทางอาชีพธรณีวิทยา ด้วยการทำงานที่มีใจรักและมีความวิริยะอุตสาหะ จนได้รับรางวัลนักธรณีวิทยาดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2528 จากสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย และมีผลงานการค้นพบกระดูกส่วนกรามล่างของไดโนเสาร์ที่ชื่อว่า Psittacosaurus sattayaraki เพื่อเป็นแนวทาง เป็นแรงจูงใจ และเป็นประโยชน์ในการทำงานด้านธรณีวิทยาต่อไป


คุณนเรศ สัตยารักษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์ (ธรณีวิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยรับราชการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษกรมทรัพยากรธรณี รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย

The post การปฏิบัติตนในการทำงานด้านธรณีวิทยา appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

ธรณีจุฬาฯ และ ธรณีวิทยา ไฟร์บวร์ก ทัศนศึกษาธรณีวิทยา บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย

$
0
0

วันที่ 1-8 มีนาคม 2561 คณาจารย์และนิสิตจากภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาฯ จำนวน 8 คน ได้จัดกิจกรรมการออกภาคสนาม ทัศนศึกษาธรณีวิทยา บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และจังหวัดกระบี่ โดยมีคณาจารย์และนักศึกษา จากภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยไฟร์บวร์กจำนวน 14 คน เข้าร่วมกิจกรรม

เนื่องด้วยคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางด้านงานวิจัยและวิชาการ รวมถึงการแลกเปลี่ยนนิสิต นักศึกษาและบุคลากรระหว่างมหาวิทยาลัย กับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กิจกรรมการออกภาคสนามทัศนศึกษาธรณีวิทยาระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับความร่วมมือทางด้านงานวิจัยและวิชาการในอนาคต

The post ธรณีจุฬาฯ และ ธรณีวิทยา ไฟร์บวร์ก ทัศนศึกษาธรณีวิทยา บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

อาจารย์และนิสิตจากภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาฯ เดินทางไปศึกษาดูงานภาคสนาม ณ มหาวิทยาลัยทสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น

$
0
0

อาจารย์และนิสิตจากภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางไปศึกษาดูงานภาคสนาม ณ มหาวิทยาลัยทสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับอาจารย์และนิสิตจากภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยทสึคุบะ ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ถึง 4 มีนาคม2561

อาจารย์ผู้ดูแลโครงการได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงคณาจารย์ชาวญี่ปุ่นได้แก่ Mr.Ken-ichiro Hisada และ Mr.Yoshihito Kamata อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะ LIFE AND ENVIRONMENTAL SCIENCE มหาวิทยาลัยทสึคุบะและนิสิตชาวญี่ปุ่นอีก8 คน โดยโครงการครั้งนี้มีนิสิตชาวไทยเข้าร่วมจำนวน 15คนทั้งในชั้นปีที่สองและชั้นปีที่สาม

โดยภายในระยะเวลาดังกล่าวนิสิตได้รับความรู้ทางธรณวิทยาที่น่าสนใจมากมาย ได้ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างทางธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีสัณฐาน หินและแร่ที่พบได้ยากในประเทศไทย อีกทั้งได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่นและสร้างความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างคณาจารย์และนิสิตทั้งสองชาติทำให้กิจกรรมการออกภาคสนามทัศนศึกษาธรณีวิทยาระหว่างประเทศครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับความร่วมมือทางด้านงานวิจัยและวิชาการในอนาคต

The post อาจารย์และนิสิตจากภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาฯ เดินทางไปศึกษาดูงานภาคสนาม ณ มหาวิทยาลัยทสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.


นิสิตธรณีฯ จุฬา ชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาธรณีวิทยาระดับนานาชาติ

$
0
0

ทีมนิสิตจากภาควิชาธรณีวิทยาชนะการแข่งขันตอบปัญหาธรณีวิทยา ในงาน Asia Geoscience Student Conference & Exhibition (AGSCE) ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการประชุมวิชาการให้กับนักเรียนธรณีศาสตร์ ในกลุ่มประเทศเขตภูมิภาคเอเชีย อันประกอบด้วย ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม และประเทศไทย ระหว่างวันที่ 29 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ณ Universiti Teknologi Petronas รัฐเปรักประเทศมาเลเซีย

ทีมนิสิตจากภาควิชาธรณีวิทยาชนะการแข่งขันตอบปัญหาธรณีวิทยา ในงาน Asia Geoscience Student Conference & Exhibition (AGSCE)

ทีมนิสิตจากภาควิชาธรณีวิทยาที่เข้าร่วมการแข่งขันตอบปัญหาธรณีวิทยาและการแข่งขันจัดแสดงหินโผล่ ในงาน Asia Geoscience Student Conference & Exhibition (AGSCE)

โดยชมรมธรณีสัมพันธ์ได้มีส่วนร่วมในการเป็น Supporting Student Organisation ในงานครั้งนี้ และมีตัวแทนนิสิตเข้าร่วมการแข่งขัน Geoquiz Competition และ Outcrop Exhibition Competition ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • การแข่งขันตอบปัญหาด้านธรณีวิทยา (Geoquiz Competition)  ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี แร่วิทยา ธรณีวิทยาโครงสร้าง ตะกอนวิทยา ธรณีวิทยาปิโตรเลียม และความรู้ทั่วไปประกอบด้วยผู้เข้าแข่งขันกว่า 28 ทีม ทีมละ 3 คน จากประเทศผู้เข้าร่วม โดยการแข่งขันแบ่งออกเป็น 5 รอบการแข่งขัน ในแต่ละรอบจะมีกฏและกติกาที่แตกต่างกันไป ซึ่งการแข่งขันตอบปัญหาในครั้งนี้ นิสิตจากภาควิชาฯ ส่งเข้าแข่งขัน 2 ทีม

ทีม A ได้รับรางวัลชนะเลิศ (champion prize) ประกอบด้วย นายธรรมปพน สรรพอุดม นายผดุงผล จิโนการ และ นางสาวศรีอมรา มีพริ้ง นิสิตชั้นปี 3

ทีมนิสิตที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (ซ้าย) นายธรรมปพน สรรพอุดม (กลาง) นายผดุงผล จิโนการ และ (ขวา) นางสาวศรีอมรา มีพริ้ง (ขวา)

ทีมนิสิตที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (ซ้าย) นายธรรมปพน สรรพอุดม (กลาง) นายผดุงผล จิโนการ และ (ขวา) นางสาวศรีอมรา มีพริ้ง (ขวา)

ทีม B ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง (2nd runner up prize) ประกอบด้วย นายพิชญ โหตรภวานนท์ และนายพงษ์ภัทร์ ชิ้นอร่ามรุ่งเรือง นิสิตชั้นปี 4 และนายอนุภัทร วิจิตรบรรจงดี นิสิตชั้นปี 2

ทีมนิสิตผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ประกอบด้วย (ซ้าย) นายอนุภัทร วิจิตรบรรจงดี นิสิตชั้นปี 2 (กลาง) นายพิชญ โหตรภวานนท์ และ (ขวา) นายพงษ์ภัทร์ ชิ้นอร่ามรุ่งเรือง นิสิตชั้นปี 4

ทีมนิสิตผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ประกอบด้วย (ซ้าย) นายอนุภัทร วิจิตรบรรจงดี นิสิตชั้นปี 2 (กลาง) นายพิชญ โหตรภวานนท์ และ (ขวา) นายพงษ์ภัทร์ ชิ้นอร่ามรุ่งเรือง นิสิตชั้นปี 4

 

  • การแข่งขันจัดแสดงหินโผล่ (Outcrop Exhibition Competition) มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 18 ทีม การแข่งขันครั้งนี้แต่ละทีมจะต้องเตรียมแบบจำลองหินโผล่บริเวณพื้นที่ศึกษาใดก็ได้มาจัดแสดง พร้อมทั้งข้อมูลงานวิจัย ตัวอย่างหิน ผลการวิเคราะห์จากห้องทดลอง และข้อมูลอื่นๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหินโผล่ โดยจะต้องนำเสนอในเวลา 10 นาที และอีก 5 นาทีสำหรับการตอบคำถาม ซึ่งการแข่งขันจัดแสดงหินโผล่ในครั้งนี้ ตัวแทนนิสิตภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งเข้าแข่งขัน 1 ทีม ประกอบด้วย นายพิชญ โหตรภวานนท์ นิสิตชั้นปี 4 นายวศิน มีสวย นางสาวกรรณิกา หวังฤทธิไกรกุล นายณัฐวุฒิ ทรัพย์ไพบูลย์ และนายธรรมปพน สรรพอุดม นิสิตชั้นปี 3

หินโผล่ ที่นำมาจัดแสดง คือ เขาใหญ่ ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนใน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี โดยมีนำเสนอทั้งแบบจำลองกายภาพย่อส่วน แบบจำลองหินโผล่ดิจิทัลสามมิติ และการใช้เทคโนโลยี AR ผลการแข่งขันได้รับ รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง (2nd runner up prize)

ทีมนิสิตที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง การจัดแสดงหินโผล่ (ลำดับจากซ้ายไปขวา) นายธรรมปพน สรรพอุดม นายณัฐวุฒิ ทรัพย์ไพบูลย์ นายพิชญ โหตรภวานนท์ นางสาวกรรณิกา หวังฤทธิไกรกุล และ นายวศิน มีสวย

ทีมนิสิตที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง การจัดแสดงหินโผล่ (ลำดับจากซ้ายไปขวา) นายธรรมปพน สรรพอุดม นายณัฐวุฒิ ทรัพย์ไพบูลย์ นายพิชญ โหตรภวานนท์ นางสาวกรรณิกา หวังฤทธิไกรกุล และ นายวศิน มีสวย

นิสิตตัวแทนและภาควิชาธรณีวิทยาขอขอบคุณ มูลนิธิอาจารย์ไสว สุนทโรวาส สำหรับทุนสนับสนุนในการเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ และ อ.ดร.สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล ที่อนุเคราะห์แบบจำลองหินโผล่ดิจิทัลสามมิติ

หินโผล่จำลองที่ได้รับรางวัลนี้ จะถูกนำมาจัดแสดงในพิพิธพัณฑ์ธรณีวิทยา ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถรับชมได้ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. เป็นต้นไป

The post นิสิตธรณีฯ จุฬา ชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาธรณีวิทยาระดับนานาชาติ appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

MOVE Software Donation from Petroleum Experts

$
0
0

Petroleum Experts (Petex) has kindly donated 10 licenses of the MOVE software suite to our department, the commercial equivalent of which is £1,308,000 (over 55.9 million Bath). 

The MOVE software suite is the most complete structural modelling and analysis toolkit available. It provides a platform for integrating and interpreting structural data, cross-section construction, 3D model building, kinematic restoration and validation, geomechanical modelling, fracture modelling, fault response modelling, and fault and stress analysis.

The MSc Petroleum Geoscience Program of the Department of Geology, Chulalongkorn University  would like to sincerely thank Petex for this generous donation, which will strongly support our research and teaching.

 

For more information on the MOVE software suite, visit: www.petex.com/products/move-suite/

 

 

The post MOVE Software Donation from Petroleum Experts appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกนิสิตเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2562

$
0
0

ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครสอบคัดเลือกนิสิตเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2562 ในหลักสูตรต่อไปนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.register.gradchula.com/

The post ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกนิสิตเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2562 appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

นิสิตเก่าภาควิชาฯ ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี 2561

$
0
0

ภาควิชาธรณีวิทยา ขอแสดงความยินดีกับ น.ส.บุญฑิกานต์ คูหาสรรพสิน นิสิตเก่า รหัส 5732732023 ผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2561 ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านธรณีฟิสิกส์ ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

มูลนิธิอานันทมหิดล เป็นมูลนิธิที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น เพื่อมุ่งส่งเสริมสนับสนุนนักศึกษาและบัณฑิตชาวไทยที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการสาขาต่าง ๆ ให้ได้รับโอกาสไปศึกษาต่อเพิ่มเติม ณ ต่างประเทศ ในระดับที่สูงขึ้น เพื่อให้เป็นบุคคลชั้นนำของประเทศในสาขาวิชานั้น ๆ และนำความรู้ความเชี่ยวชาญกลับมารับใช้ประเทศชาติต่อไปหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับสูงสุดแล้ว

รับชมพิธีถวายบังคมลาศึกษาต่อได้ที่ ข่าวในพระราชสำนัก วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562  https://youtu.be/UG7osVGnTZM?t=266

The post นิสิตเก่าภาควิชาฯ ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี 2561 appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

โครงการเรียนรู้หินกับกล้องจุลทรรศน์จิ๋ว

$
0
0

ธรณีวิทยาเป็นหนึ่งองค์ความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยครูในโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2560 เนื้อหาเกี่ยวกับธรณีวิทยาได้ถูกนำมาใช้ในการสอบโอเน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 6 ของข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ทั้งนี้การเรียนของนักเรียนโดยส่วนใหญ่จะได้จากการอธิบายตามเนื้อหาในหนังสือเรียนเป็นหลัก ในขณะที่สื่อการเรียนการสอนที่เป็นตัวอย่างจริงจากธรรมชาติมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การเรียนธรณีวิทยาผ่านการดูตัวอย่างจริงจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นหิน แร่ หรือซากดึกดำบรรพ์มีความสำคัญ เพราะการมีตัวอย่างหินหรือเเร่ จะทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะการสังเกตร่วมกับแว่นขยาย เพื่อพิจารณาแร่ที่เป็นองค์ประกอบขนาดเล็กในหิน หรือบอกลักษณะจำเพาะของแร่บางชนิดได้ นำไปสู่การจำแนกประเภทและชนิดของหินและแร่ได้อย่างถูกต้อง และเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนใน ห้องเรียนแทนการท่องจำจากรูปภาพในหนังสือเรียน

ดังนั้นโครงการเรียนรู้หินกับจุฬาสมาร์ทเลนส์ “Learning Rocks with CU Smart Lens” ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ทางด้านธรณีวิทยาในห้องเรียน โดยจัดทำในรูปแบบของกล่องอเนกประสงค์ที่ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟน จุฬาฯสมาร์ทเลนส์ ตัวอย่างหินและซากดึกดำบรรพ์ คู่มือการสอนรูปแบบหนังสือและออนไลน์ ผลจากการจัดทำโครงการนี้จะช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทางด้านธรณีวิทยาอย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียนได้ดีขึ้น

หนังสือคู่มือ Learning Rock


วัตถุประสงค์


คู่มือการใช้งาน


วัฎจักรหิน (Rock’s cycle)

The post โครงการเรียนรู้หินกับกล้องจุลทรรศน์จิ๋ว appeared first on Department of Geology - Chulalongkorn University.

Viewing all 109 articles
Browse latest View live